คำนาม
คำนาม คือ คำที่ใช้แทนชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สิ่งมีชีวิต ไม่มีชีวิต นามธรรม รูปธรรม เช่น บ้าน ครู นักเรียน นก ความรักความสามัคคี ฯลฯ
คำนามแบ่งออกเป็น 5 ชนิด
1. คำนามทั่วไป (สามานยนาม) คือ คำนามที่ใช้ชื่อทั่ว ๆ ไปของคน สัตว์สิ่งของ เช่น
• เด็กนั่งอยู่ในโรงเรียน
• บ้านเป็นที่อยู่ของคน
• พระอยู่ในวัด
• ครูเตรียมสอน
• นักเรียนทำการบ้าน
• มีวิชาเหมือนมีทรัพย์
2. คำนามชื่อเฉพาะ (วิสามานยนาม) คือ คำที่ใช้แทนที่เฉพาะของ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เป็นชื่อเฉพาะเจาะจง เช่น
• โรงเรียนสามโก้วิทยายน เปิดเรียนแล้ว
• ครูเสถียรสอนวิชาภาษาไทย
• มะม่วงเขียวเสวยราคาแพงมาก
• พระครูปัญญาจำพรรษาอยู่ที่วัด
• สมชายขาดโรงเรียน
• อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง
3. นามบอกลักษณะ (ลักษณะนาม) คือ คำนามที่ประกอบนามอื่น เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด หรือปริมาณ เช่น
• รถยนต์ 1 คัน
• บรรทุกผู้โดยสาร 10 คน
• ต้นไม้ล้ม 2 ต้น
• เรือ 1 ลำ
• มีพาย 1 เล่ม
• พ่อซื้อแหมา 2 ปาก
• ตู้เย็น 1 หลัง
• ช้าง 2 เชือก
• ฟันของน้องขึ้น 2 ซี่
4. คำนามหมวดหมู่ (สมุหนาม) คือคำนามที่แสดงหมวดหมู่ กอง หรือคำนามที่รวมกันเป็นหมู่ เช่น
• คณะครูกำลังประชุม
• โขลงช้างเดินข้ามภูเขา
• ฝูงม้าอยู่ในป่า
• รัฐบาลบริหารงานไม่ดี
• บริษัทขอแสดงความยินดีกับพนักกงาน
• ศาลติดสินโทษประหารนักโทษ
• กองทหารกำลังรักษาการณ์
• พวกกรรมกร เดินขบวนขอขึ้นค่าแรง
5. คำนามบอกอาการ (อาการนาม) คือ คำนามที่บอกความหมายถึงสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีขนาดแต่เราสามารถเข้าใจกันได้โดยมาก จะมีคำว่า “การ” และ “ความ” นำหน้า คำกริยาและวิเศษณ์ เช่น
• การเดิน การนอน
• ความสุข ความทุกข์
• การวิ่ง การกิน
• ความกตัญญู ความดี
• ความรู้ ความรัก
• ความคิด ความชั่ว
หน้าที่คำนามในภาษาไทย
คำนามทำหน้าที่ในประโยคดังนี้
1. คำนามทำหน้าที่ประธานในประโยค ตัวอย่าง
ครูเล่นกีฬา สมชายดื่มน้ำ
โรงเรียนประกวดเรียงความ บริษัทมอบทุนให้พนักงาน
2. คำนามทำหน้าที่เป็นกรรม ตัวอย่าง
ฉันรู้จักบ้านเธอแล้ว เขากินขนมหมดแล้ว
เราไปตลาด เขาตีสุนัข
3. คำนามทำหน้าที่ขยายนามหรือสรรพนาม
ป้าพรแม่ค้าส้มตำประกวดนางสาวไทย
สมชาย นายอำเภอขยันทำงาน
เขาคนนั้นจากเราไปแล้ว
เสถียรครูภาษาไทยไม่มาโรงเรียน
4. คำนามทำหน้าทีขยายคำกริยา
ตัวอย่าง เขานั่งรถไปทำงานทุกวัน ฉันไปโรงเรียน ตอนเช้า
ตัวอย่าง เขาเป็นครู ท่านคือพ่อเรา
เราอยู่บ้านทุกวัน เธอเหมือนแม่มาก
1. คำนามทั่วไป (สามานยนาม) คือ คำนามที่ใช้ชื่อทั่ว ๆ ไปของคน สัตว์สิ่งของ เช่น
• เด็กนั่งอยู่ในโรงเรียน
• บ้านเป็นที่อยู่ของคน
• พระอยู่ในวัด
• ครูเตรียมสอน
• นักเรียนทำการบ้าน
• มีวิชาเหมือนมีทรัพย์
2. คำนามชื่อเฉพาะ (วิสามานยนาม) คือ คำที่ใช้แทนที่เฉพาะของ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เป็นชื่อเฉพาะเจาะจง เช่น
• โรงเรียนสามโก้วิทยายน เปิดเรียนแล้ว
• ครูเสถียรสอนวิชาภาษาไทย
• มะม่วงเขียวเสวยราคาแพงมาก
• พระครูปัญญาจำพรรษาอยู่ที่วัด
• สมชายขาดโรงเรียน
• อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง
3. นามบอกลักษณะ (ลักษณะนาม) คือ คำนามที่ประกอบนามอื่น เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด หรือปริมาณ เช่น
• รถยนต์ 1 คัน
• บรรทุกผู้โดยสาร 10 คน
• ต้นไม้ล้ม 2 ต้น
• เรือ 1 ลำ
• มีพาย 1 เล่ม
• พ่อซื้อแหมา 2 ปาก
• ตู้เย็น 1 หลัง
• ช้าง 2 เชือก
• ฟันของน้องขึ้น 2 ซี่
4. คำนามหมวดหมู่ (สมุหนาม) คือคำนามที่แสดงหมวดหมู่ กอง หรือคำนามที่รวมกันเป็นหมู่ เช่น
• คณะครูกำลังประชุม
• โขลงช้างเดินข้ามภูเขา
• ฝูงม้าอยู่ในป่า
• รัฐบาลบริหารงานไม่ดี
• บริษัทขอแสดงความยินดีกับพนักกงาน
• ศาลติดสินโทษประหารนักโทษ
• กองทหารกำลังรักษาการณ์
• พวกกรรมกร เดินขบวนขอขึ้นค่าแรง
5. คำนามบอกอาการ (อาการนาม) คือ คำนามที่บอกความหมายถึงสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีขนาดแต่เราสามารถเข้าใจกันได้โดยมาก จะมีคำว่า “การ” และ “ความ” นำหน้า คำกริยาและวิเศษณ์ เช่น
• การเดิน การนอน
• ความสุข ความทุกข์
• การวิ่ง การกิน
• ความกตัญญู ความดี
• ความรู้ ความรัก
• ความคิด ความชั่ว
หน้าที่คำนามในภาษาไทย
คำนามทำหน้าที่ในประโยคดังนี้
1. คำนามทำหน้าที่ประธานในประโยค ตัวอย่าง
ครูเล่นกีฬา สมชายดื่มน้ำ
โรงเรียนประกวดเรียงความ บริษัทมอบทุนให้พนักงาน
2. คำนามทำหน้าที่เป็นกรรม ตัวอย่าง
ฉันรู้จักบ้านเธอแล้ว เขากินขนมหมดแล้ว
เราไปตลาด เขาตีสุนัข
3. คำนามทำหน้าที่ขยายนามหรือสรรพนาม
ป้าพรแม่ค้าส้มตำประกวดนางสาวไทย
สมชาย นายอำเภอขยันทำงาน
เขาคนนั้นจากเราไปแล้ว
เสถียรครูภาษาไทยไม่มาโรงเรียน
4. คำนามทำหน้าทีขยายคำกริยา
ตัวอย่าง เขานั่งรถไปทำงานทุกวัน ฉันไปโรงเรียน ตอนเช้า
ตัวอย่าง เขาเป็นครู ท่านคือพ่อเรา
เราอยู่บ้านทุกวัน เธอเหมือนแม่มาก
ข้อสอบที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น